1.ด้านกายภาพ
1.1 ข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้งของตำบลห้วยเตย
คำขวัญ “ วัฒนธรรมล้ำเหลือ เสื่อกกหม่อนไหมมากมี เศรษฐกิจดี ข้าว มัน อ้อย ตามรอยประเพณี ของดีรำวงย้อนยุค อบายมุขขจัดสิ้น ถิ่นคนดีน้ำใจงาม” องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยเตย ตั้งอยู่ เลขที่ 212 หมู่ที่ 4 บ้านหนองแคน ตำบลห้วยเตย อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม อยู่ห่างจากตัวอำเภอกุดรัง ประมาณ 9 กิโลเมตร เนื้อที่โดยประมาณ 20,202 ไร่ หรือประมาณ 32.32 ตารางกิโลเมตร
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
โดยทั่วไป ตำบลห้วยเตยมีพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 130 – 230 เมตร
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อ ตำบลเหล่า อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
ทิศใต้ ติดต่อ ตำบลกุดรัง อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม
ทิศตะวันออก ติดต่อ ตำบลบรบือ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
ทิศตะวันตก ติดต่อ ตำบลหนองเหล็ก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
ในเขตตำบลห้วยเตย เป็นแบบมรสุมเมืองร้อน ตลอดปี ในช่วงมรสุมฤดูร้อนจะได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดมาจากมหาสมุทรอินเดีย สภาพโดยทั่วไปจะมีลักษณะฝนตกสลับกับอากาศแห้ง
1.4 ลักษณะของดิน
สภาพทางภูมิศาสตร์ของตำบลห้วยเตย เป็นเพียงที่ราบโดยทั่วไป พื้นดินเป็นทราย และแห้งแล้งในฤดูแล้ง การทำการเกษตรของประชากรในพื้นที่ตำบลห้วยเตยต้องอาศัยพืชที่ใช้น้ำน้อยและทนต่อสภาพอากาศ
1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
11.1 แหล่งน้ำธรรมชาติ
- ลำน้ำ,ลำห้วย 7 สาย (ลำห้วยเตย ลำห้วยแท่น ลำห้วยยาง ลำห้วยยิ้ว ลำห้วยเอนอ้า ลำห้วยทราย โสกกกม่วง)
- หนองน้ำสาธารณะ 5 แห่ง ประกอบด้วย บ้านหนองแสง บ้านวังโจด (หนองโจด) บ้านหนองแคน บ้านห้วยเตย
11.2 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- ฝาย 12 แห่ง
- บ่อน้ำโยธาฯ 30 แห่ง
- ประปาหมู่บ้าน 20 แห่ง
- บ่อบาดาล 14 แห่ง
1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้
สภาพป่าไม้ของจังหวัด ส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรัง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของตำบลห้วยเตยซึ่งเป็นเขตติดต่อกับตำบลกุดรัง อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม เนื่องจากตำบลห้วยเตยมีพื้นที่ป่าไม้น้อยจึงทําให้ระบบนิเวศไม่มีความอุดมสมบูรณ์และเป็นอุปสรรคไม่เอื้ออํานวยในการทำการเกษตร และยังมีปัญหาการบุกรุกทําลายป่าไม้ ซึ่งในระยะที่ผ่านมา พบว่า มีการลักลอบตัดไม้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะไม้พยุง ไม้เต็งไม้รัง หรือไม้ใช้สอยเพื่อการก่อสร้างบ้าน ซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง
2. ด้านการเมือง/การปกครอง2.1 เขตการปกครอง
การปกครองของตำบลห้วยเตยเป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป ซึ่งอยู่ในรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ตำบลห้วยเตยเป็น 1 ใน 5 ตำบลของอำเภอกุดรัง โดยได้แยกออกมาจากอำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2538 เหตุที่ได้ตั้งงชื่อว่า ห้วยเตย เนื่องจากมี ลำห้วยซึ่งเป็นลำห้วยที่มีความสำคัญต่อต่อชาวบ้านไหลผ่าน มีน้ำใส อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติมากมาย ชาวบ้านจึงได้อาศัยลำห้วย เพื่อเป็นชื่อตำบลว่า ตำบลห้วยเตย
2.2 การเลือกตั้ง
ตำบลห้วยเตยประกอบด้วย 1 เขตเลือกตั้ง จำนวน 19 หน่วยเลือกตั้ง จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งแบ่งเป็น ชาย 2,145 คน หญิง 2,189 คน รวมทั้งสิ้น 4,334 คน 3. ประชากร3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับประชากร
จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยเตย มีทั้งหมด 19 หมู่บ้านจำนวนข้อมูลประชากรและครัวเรือน ระดับตำบล ของตำบลห้วยเตย ข้อมูล ณ วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2560 มีความหนาแน่นเฉลี่ย 175.19 คน/ตารางกิโลเมตรรายการ | จำนวน | หน่วยนับ |
---|---|---|
ครัวเรือนทั้งสิ้น | 1,568 | ครัวเรือน |
ประชากรชาย | 2,856 | คน |
ประชากรหญิง | 2,806 | คน |
ประชากรทั้งสิ้น | 5,662 | คน |
4. สภาพสังคม
4.1 การศึกษา5. ระบบบริการพื้นฐาน
5.1 การคมนาคมขนส่ง6. ระบบเศรษฐกิจ
6.1 การเกษตรและอาชีพลำดับ | รายการ | ร้อยละ |
---|---|---|
1. | เกษตรกรรม | 73.48 % |
2 | ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว | 1.17 % |
3 | ข้าราชการ/พนักงานของรัฐ/รัฐวิสาหกิจ | 1.74 % |
4 | พนักงานห้างร้าน/บริษัทเอกชน | 3.67 % |
5 | อาชีพอิสระ/รับจ้างทั่วไป | 1.28 % |
6 | นักเรียน/นักศึกษา | 11.27 % |
7 | แม่บ้าน | 6.42 % |
8 | ว่างงาน | 0.97 % |
7. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และมีการปฏิบัติกิจกรรมด้านการศาสนาอย่างต่อเนื่อง ประเพณีที่สำคัญๆ ของคนในพื้นที่ตำบลห้วยเตย ได้แก่ ประเพณีกฐิน ประเพณีข้าวสาก บุญเดือนเจ็ด (บุญซำฮะ) ประเพณีสงกรานต์ฯลฯ ภูมิปัญญาท้องถิ่นในตำบลห้วยเตยได้แก่ ด้านการจักสาน ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ฯลฯ โดยภาษาท้องถิ่นได้แก่ ภาษาไทยอีสาน